ขับล้อหน้า VS ขับล้อหลัง

Last updated: 15 ม.ค. 2568  |  45 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ขับล้อหน้า VS ขับล้อหลัง

ปัจจุบันรถยนต์ส่วนใหญ่มีระบบขับเคลื่อนหลักๆ อยู่ 2 ประเภท คือ ขับเคลื่อนล้อหน้าและขับเคลื่อนล้อหลัง โดยแต่ละประเภทก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป จะมีอะไรบ้างไปดูกันครับ

ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าเป็นระบบที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ ได้แก่

1. ประหยัดน้ำมัน: ระบบขับเคลื่อนล้อหน้ามีส่วนประกอบน้อยกว่า ทำให้มีน้ำหนักเบาและสิ้นเปลืองน้ำมันน้อยกว่า
2. พื้นที่ภายในกว้างขวาง: เนื่องจากไม่มีเพลาขับหลังตัวรถ ทำให้มีพื้นที่ภายในห้องโดยสารที่กว้างขวางขึ้น
3. การควบคุมง่าย: การชขับเคลื่อนล้อหน้าควบคุมการขับขี่ค่อนข้างง่าย เหมาะสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน
4. ต้นทุนการผลิตต่ำ: ทำให้จำหน่ายได้ในราคาไม่แพง จึงเป็นที่นิยมสำหรับรถยนต์ญี่ปุ่น ที่ต้องการเน้นกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่

อย่างไรก็ดี ระบบขับเคลื่อนล้อหน้ามีข้อเสียบางอย่างเมื่อเทียบกับรถขับเคลื่อนล้อหลัง เช่น เมื่อเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง อาจเกิดอาการหน้าดื้อ (Understeer) ทำให้รถไม่สามารถเข้าโค้งได้ตามต้องการ การขับรถล้อหน้าอาจขาดความสนุกสนานและความรู้สึกในการขับขี่ที่ดุดัน

ระบบขับเคลื่อนล้อหลังมักพบในรถยนต์สปอร์ต รถกระบะ และรถยนต์หรู เนื่องจากมีข้อดีในเรื่องของสมรรถนะการขับขี่

1. สมรรถนะการควบคุมขณะเข้าโค้ง: รถขับเคลื่อนล้อหลังจะขับเข้าโค้งได้ดี รถจะมีความคล่องตัวและแม่นยำสูง
2. การกระจายน้ำหนัก: การกระจายน้ำหนักของรถแบบหน้าหลัง ทำให้รถมีสมดุลในการขับขี่ที่ดี
3. แรงฉุดดี: ล้อหลังเป็นตัวขับเคลื่อน ทำให้รถมีแรงฉุดที่ดีเมื่อออกตัว

แต่ระบบขับเคลื่อนล้อหลังก็มีข้อเสียเช่นกัน เช่น สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่า เนื่องจากมีชิ้นส่วนที่ซับซ้อนกว่า และหากเป็นรถกระบะที่มีน้ำหนักด้านท้ายเบา อาจส่งผลให้เกิดอาการ Oversteer หรือท้ายปัดได้ง่าย

การเลือกใช้รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าหรือล้อหลังขึ้นอยู่กับความต้องการและการใช้งานของแต่ละคน หากต้องการรถยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน คล่องตัว และมีพื้นที่ภายในกว้างขวาง รถขับหน้าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม แต่ถ้าต้องการเน้นสมรรถนะ การขับขี่ที่สนุกเร้าใจ รถขับหลังก็จะเป็นทางเลือกที่เหมาะกว่าครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้